ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง











เดิมทีงานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้ง เกิดจากความเชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไป แล้ว มีอานิสงส์แรงทำให้เกิดในภพหน้าได้มีปราสาทราชมณเฑียรอาศัย อยู่ด้วยความมั่งมีศรีสุข หรือเกิดในสวรรค์ชั้นฟ้าขอมี ปราสาทอันสวยงาม มีนางฟ้าแวดล้อมนอกจากนี้หลักใหญ่ของประเพณีแห่ปราสาทผึ้งถือเป็นการร่วมงานบุญครั้งใหญ่ในรอบปี เพื่อทำบุญและถวายที่วัดเพื่อเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันออกพรรษา ในอดีตการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกว่า 'ต้นผึ้ง' หรือ 'ต้นเผิ่ง' ทำโดยเอากาบของต้นกล้วยมาทำเป็นโครงจากนั้นก็ทำเอาดอกผึ้ง ที่ชาวบ้านจะนำขี้ผึ้งใส่ถ้วยหรือขัน ลงลอยในน้ำร้อนที่ตั้งไฟอ่อน ๆ ให้ขี้ผึ้งละลาย แล้วใช้ผลมะละกอดิบ มาปอกเปลือกตรงส่วนก้น ให้มีความเว้าคล้ายกลีบดอกไม้ จุ่มลงในขี้ผึ้งที่ละลายแล้ว ก่อนยกลงจุ่มในน้ำเย็น ดอกผึ้งก็จะหลุดล่อนออกมา ซึ่งทำได้หลายสีสัน โดยใช้ขี้ผึ้งสีต่าง ๆ กัน เช่น ขาว เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม เหลืองแสด ฯลฯ เอาดอกผึ้งไปตกแต่งปราสาท ก็จะใช้ไม้กลัดเสียบ ดอกบานไม่รู้โรย วางลงตรงกลางดอกผึ้งเป็นเหมือนเกสรดอกไม้รูปทรงของปราสาทผึ้งโบราณจะสร้างขึ้นจากโครงไม้ไผ่ ตกแต่งด้วยหยวกกล้วยที่แทงเป็นลวดลายหรือรูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงตะลุ่ม ทรงหอมียอดประดับหลังคา
ทรงสิมหรืออุโบสถแบบอีสาน เป็นต้น

แหล่งที่มา http://www.tripandtrek.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

About this blog