การเข้าพรรษาเป็นกิจของพระภิกษุสามเณรที่จะต้องอยู่ประจำในวัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือน กำหนดเอาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือนแปดถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ห้ามมิให้พระภิกษุสามเณรไปพักแรมคืนที่อื่น เนื่องจากฤดูนี้เป็นฤดูแห่งการเกษตรกรรม การห้ามพระภิกษุสามเณรเดินทางด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งอาจมาจาก การไม่ต้องการให้พระภิกษุสามเณรไปเยียบย่ำพืชผลที่ชาวบ้านได้เพาะปลูกไว้ การทำบุญเข้าพรรษาเป็นประเพณีทางศาสนา โดยตรงจึงคล้ายกับภาคอื่นๆในประเทศไทย ในพิธีจะมีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร มีการฟังธรรมเทศนา ชาวบ้านจะหล่อเทียนใหญ่ไว้ถวายเป็นพุทธบูชา และจะเก็บไว้ตลอดพรรษาการทำเทียนถวายวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้มีความเชื่อแต่โบราณว่า หากใครทำเทียนไปถวายวัดเมื่อเกิดชาติใหม่ผู้นั้นจะได้เสวยสุขในสวรรค์ อานิสงส์ของการถวายเทียนนั้นหากมิได้ขึ้นสวรรค์แต่เกิดบนโลกมนุษย์ ผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาไหวพริบเลิศเลอ ประดุจแสงเทียนอันสว่างไสว ปัจจุบันเกือบทุกจังหวัดในภาคอีสานได้จัดให้มีงานแห่เทียนเข้าพรรษา โดยนำเทียนมาแกะสลักอย่างสวยงามประกอบกันเป็นเรื่องราว แล้วจัดแห่รอบหมู่บ้านหรือตัวเมืองก่อนนำไปถวายวัด จังหวัดที่มีการจัดงานยิ่งใหญ่คือ จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะมีขบวนแห่เทียนพรรษาที่ได้แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจงไปรอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงดงามของเทียนเข้าพรรษา และยังได้ประกวดขบวนแห่เทียนพรรษาด้วย งานแห่เทียนเข้าพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นงานที่สำคัญงานหนึ่งของประเทศมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกภาค และจากต่างประเทศมารอชมความงดงามของเทียนพรรษามากมาย
แหล่งที่มา http://student.nu.ac.th/isannu/isanculture/culture4.htm
ฮีตสิบสองเดือนแปด-บุญเข้าพรรษา
เขียนโดย
wilaiporn
วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
ป้ายกำกับ: ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น