งานเกาะช้างเคาท์ดาวน์ 2010








งานเกาะช้างเคาท์ดาวน์ 2010
Ko Chang Countdown 2010
วันที่ 30 ธันวาคม 2552 - 2 มกราคม 2553
บริเวณหาดคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด ร่วมกับ จังหวัดตราด บริษัท สิงห์ คอปอเรชั่น จำกัดมหาชน จังหวัดตราด สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตราด หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดตราด ร่วมกันจัดงาน Ko Chang Countdown 2010 บริเวณหาดคลองพร้าว เกาะช้าง จังหวัดตราด ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2553

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวบนเกาะช้าง ได้มีโอกาสร่วมเฉลิมฉลองกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2553 เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดตราด หลังจากได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดี ในการจัดงานปีที่แล้ว ในส่วนของกิจกรรมในปีนี้ มีการแสดงของชาวเกาะช้าง วัฒนธรรมพื้นบ้าน, การแสดงบนเวทีกลางจากเหล่าศิลปินมากมาย อาทิเช่น วงขนมจีน, วงโอ-เอ ฯลฯ ร่วมกันเขียน ส.ค.ส. ที่ยาวที่สุดในโลก 137 เมตร, จำหน่ายอาหารและของดีเมืองตราด, การจุดพลุเฉลิมฉลองปีใหม่ริมหาด, ประกวดแข่งขันชุดจากวัสดุธรรมชาติ ชิงเงินรางวัล รวมไปถึงกิจกรรมทางน้ำอื่น ๆ อีกมากมายนายวรนิติ์ กายราศ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด กล่าวเสริมว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อนบนเกาะช้างแล้ว นักท่องเที่ยวยังจะได้สัมผัสกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่แปลกและตระการตากว่าปีที่ผ่านมา จากกิจกรรมที่จะจัดขึ้นบนเกาะช้าง ตลอดจนการจุดพลุและดอกไม้ไฟบนเวทีกลาง เพื่อร่วมเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกันแสดงความความรู้สึก ส่งความสุขลงบนแผ่น ส.ค.ส. ขนาดที่ยาวที่สุดในโลก คือ 137 เมตร เท่ากับนับย้อนหลังจำนวนปีที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเกาะช้าง จัดเตรียมไว้ ณ บริเวณที่จัดงาน จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่สนุกสนานไม่แพ้ที่ใด ได้ในวันเวลาดังกล่าว


แหล่งที่มา http://thai.tourismthailand.org/festival-event/content-7107-1.html

อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม













อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม เป็นพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย และหนองคาย มีสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร ภูเขาที่สูงที่สุดคือ ภูย่าอู่ สูงประมาณ 588 เมตร สภาพป่าส่วนใหญ่ยังอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น ห้วยน้ำโสม ห้วยตาดโตน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณและดินลูกรังตามป่าเต็งรัง หินที่พบในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทราย
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม ฤดูร้อนอากาศร้อนมาก อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียล ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-20 องศาเซลเซียล ปริมาณน้ำฝนตลอดปีประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังกระจายตามเชิงเขาและสันเขา พันธุ์ไม้สำคัญคือ เต็ง รัง เหียง พลวง ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นหญ้าเพ็ก กระเจียว ตามหุบเขาเป็นป่าเบญจพรรณ มีชิงชัน แดง ประดู่ มะค่าแต้ และไผ่หลายชนิด เช่น ไผ่ซาง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่ป่า ตามริมห้วยเป็นป่าดิบแล้ง พบยาง กระบาก ตะเคียน ตะแบก มะค่าโมง ฯลฯ พืชอิงอาศัยจะมีกล้วยไม้ต่างๆ และเฟินกระเช้าสีดา ขึ้นเกาะอยู่ตามคาคบไม้อยู่มากมาย พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย ปาล์ม สมุนไพรต่างๆ

อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม ตั้งอยู่ที่บ้านสว่าง หมู่ 2 ตำบลนายูง สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ได้แก่
น้ำตกยูงทอง เป็นน้ำตกตั้งอยู่บนสันเขาภูพาน และภูย่าอู ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 500 เมตร มีลำน้ำไหลผ่านโขดหินสลับซับซ้อนสวยงามท่ามกลางความเขียวขจีของแมกไม้นานาพรรณ น้ำตกยูงทองเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มี 3 ชั้น มีแอ่งน้ำสามารถลงเล่นได้ ในอดีตเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหากินของนกยูง จนเป็นที่มาของชื่อยูงทอง
จุดชมวิวผาแดง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 1,500 เมตร ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง ผาแดงเป็นหน้าผาหินทรายที่สูงชันมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามเบื้องล่างได้กว้างไกล ใกล้กับผาแดงมีหลืบถ้ำเล็ก ๆ ที่เคยเป็นที่วิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกยูงทอง เป็นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติที่อุทยานฯ จัดทำขึ้นเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติแก่ผู้มาเยือน โดยได้จัดสื่อบรรยายลักษณะทางธรรมชาติตามเส้นทางเป็นระยะ ผ่านน้ำตกยูงทอง น้ำตกตาดน้อย จุดชมวิวผาแดง ระยะทางประมาณ 2,000 เมตร
การเดินทาง จากจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงสายอุดรธานี-หนองคาย 15 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายผ่านอำเภอบ้านผือ ไปทางอำเภอน้ำโสม เลี้ยวขวาที่บ้านสามเหลี่ยมไปทางอำเภอนายูงประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงบ้านสว่างเลี้ยวขวาไป 2 กิโลเมตร
จะถึงที่ทำการอุทยานฯ


แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=239&lg=1

วัดป่าบ้านค้อ









วัดป่าบ้านค้อ
ตั้งอยู่ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของ "พระอาจารย์ทูล ขิบปปญโญ"
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 มีเนื้อที่ 410 ไร่ ปัจจุบันมีเสนาสนะและสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย ปฏิบัติธรรมสำหรับพระและฆราวาส มีเสนาสนะป่า เหมาะแก่การปลีกวิเวก ของผู้ใคร่ปฏิบัติธรรมในส่วนของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานี กำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำ จังหวัดอุดรธานี และได้เคยจัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียนและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังมีฑราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ
การเดินทางไปยังวัดป่าบ้านค้อ สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี - หนองคาย)
ถึงหลักกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 2021 (สายอุดร - บ้านผือ) อีก 20 กิโลเมตร
แล้วเลี้ยวขวาเข้าวัดป่าบ้านค้ออีก 3 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอุดรธานี ประมาณ 36 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์ 0-4225-0730 โทรสาร 0-4225-0731

แหล่งที่มา http://narinthorn.igetweb.com/index.php?mo=3&art=199218

สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์









สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์

ตั้งอยู่ที่ซอยกมลวัฒนา ถนนรอบอุดร-หนองสำโรง จากตัวเมืองใช้เส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เลยแยกถนนเลี่ยงเมืองไปเล็กน้อย ทางซ้ายมือจะมีทางแยกเข้าหนองสำโรงประมาณ 500 เมตร และเห็นป้ายบอกทางเข้าสวนกล้วยไม้ทางด้านซ้ายมือ สวนกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นสวนกล้วยไม้ที่ผลิตกล้วยไม้กลิ่นหอมพันธุ์ใหม่ของไทยซึ่งใช้เวลาในการค้นคว้า และผสมพันธุ์ระหว่างแวนด้า (Vanda) โจเซฟฟินแวนเบอร์โร (Josephine Van Berrow) ได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ที่สมาคมกล้วยไม้โลก ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2531 ชื่อพันธุ์ Udon Sunshine Orchid หรือพันธุ์นางสาวอุดรซันไฌน์ ซึ่งมีการนำไปสกัดทำน้ำหอมในชื่อเดียวกันไปจำหน่าย

แหล่งที่มา http://thai.tourismthailand.org/attraction/udonthani-41-253-1.html

วัดป่าบ้านตาด







วัดป่าบ้านตาดอ. เมือง จ. อุดรธานี

ข้อมูลทั่วไป - วัดป่าบ้านตาด
วัดป่าบ้านตาด ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตาด เดินทางออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-ขอนแก่น ถึงบริเวณสี่แยกบ้านคงเค็ง แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดที่อยู่เลยจากชุมชนบ้านตาดไม่ไกลเท่าใดนัก สภาพโดยทั่วไปของวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคก มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ ล้อมรอบด้วยกำแพง นอกจากมีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้วยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วยเพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดป่าบ้านตาดเป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป และวัดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรม

แหล่งที่มา http://www.ezytrip.com/Thailand/th/NorthEast/UDonThaNi/01457/01457.htm

วนอุทยานน้ำตกธารงาม









วนอุทยานน้ำตกธารงาม

วนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ในเขตป่าขุนห้วยสามพาด-ขุนห้วยกองสี อยู่ในท้องที่ตำบลหนองแสง กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี มีเนื้อที่ประมาณ 78,125 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527

ภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงชันและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน โดยแยกตัวเป็นพืดยาวติดต่อกันออกไปทางทิศเหนือ พื้นที่มีความลาดชันสูงและค่อนข้างราบบนสันเขา มีลำธารหลายสายไหลลงสู่ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องและห้วยกองสี เฉพาะที่ห้วยวังกุ่มเป็นป่าทึบและรกชัฏ ทิศใต้ของพื้นที่เป็นพะลานหินชื่อ “แหลสะอาด”

ภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของวนอุทยานน้ำตกธารงามแบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

สัตว์ป่า
สัตว์ป่าที่พบได้แก่ หมูป่า เก้ง กระจง ลิง ชะนี ค่าง บ่าง อีเห็น และนกชนิด

ป่าและพันธุ์ไม้
เป็นป่าดงดิบและป่าเต็ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ นนทรี มะค่าโมง มะค่าแต้ เต็งดง ยาง เต็ง รัง เป็นต้น และไม้พื้นล่างได้แก่ไผ่ต่างๆ หวาย กล้วยไม้เกาะหิน เฟิร์น และต้นข้าวสาร

การเดินทาง
การเดินทางไปวนอุทยานน้ำตกธารงาม อยู่ห่างจากตัวกิ่งอำเภอเพียง 6 กิโลเมตรเศษ เท่านั้นและมีถนนไปถึงวนอุทยานน้ำตกธารงาม 3 เส้นทางดังนี้

1. เส้นทางอุดร-บ้านเหล่า-โคกลาด-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร

2. เส้นทางอุดร-คำกลิ้ง-บ้านตาด-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร

3. เส้นทางอุดร-ห้วยเกิ้ง-กิ่งอำเภอหนองแสง ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร

แหล่งที่มา http://travel.lakkai.com/park/tharnngam.php

วัดโพธิ์ชัยศรี(วัดหลวงพ่อนาค)







วัดโพธิ์ชัยศรี(วัดหลวงพ่อนาค)
ประวัติหลวงพ่อนาค

พระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งลักษณะมีนาค7หัวชูคออยู่เหนือเศียรองค์พระแล้วขมวดหางเป็นวงขดเข้าหากันทำเป็นแท่นประทับขององค์พระมีขนาดต่างๆกันใหญ่บ้างเล็กบ้างและวงขดกว้างกันมี3ชั้นบ้าง5ชั้นบ้าง7ชั้นบ้างแล้วแต่ความนิยมของผู้สร้างในสมัยนั้นๆหลวงพ่อนาคนี้เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่งซึ่งผู้สร้างได้จารึกอักษรไว้ตรงแท่นพระเป็นอักษรตัวธรรม(ไทยน้อย)โบราณแต่ผู้รักอักษรธรรมโบราณมีสองท่านได้อ่านไว้แล้วบอกกันต่อๆกันมา(ขณะนี้ท่านทั้งสองได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว)มีความว่าสร้างเมื่อ ปี จ.ศ.170 แห่งพุทธกาลปีจอเดือน3ขึ้น13ค่ำยามกลองแลงหัวครูคำวงษาเป็นผู้สร้างท่านผู้สร้างคงเป็นพระที่อภิญญาณแน่นอน เมื่อ พ.ศ.2530 พระราชปรีชาญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย
(วัดโพธิ์ชัย)ได้อ่านไว้ว่าสร้าง จ.ศ.170 (พ.ศ.1353) เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำยามกลองแลง (ฤกษ์เททองเวลา17.00น.ถึง17.30น.) ปีจอ หัวครูคำวงษา เป็นผู้สร้างรูปลักษณะของหลวงพ่อนาคองค์นี้สวยงามน่าเลื่อมใสมากโดยเฉพาะพระพักตร์(ใบหน้า)ดูเหมือนว่าองค์ท่านยิ้มนิดๆอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาและในองค์ของหลวงพ่อนาคนั้นมีผู้เล่าต่อๆกันมาว่าตรงหัวใจขององค์ท่านเป็นทองคำแท้อยู่ภายในและมีอัฐิธาตุ(กระดูก)ของพระอรหันต์บรรจุอยู่ภายในนั้นด้วยจึงทำให้องค์ท่านบางครั้งมีรัศมีเปล่งออกมามีผู้พบเห็นเล่ากันต่อๆมาและมีความศักดิ์สิทธิ์มากเหลือที่เราปุถุชนคนธรรมดาจะคิดให้รู้หมดความสงสัยได้ถ้าพูดตามภาษาธรรมะเรียกว่าเป็นอจินไตยแปลว่าใครๆไม่ควรคิดถ้าใครขืนคิดผู้นั้นจะถึงความเป็นบ้าเพราะคิดไม่ออกนั่นเลยเพราะมิใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆจะคิดได้แต่เป็นนิสัยของผู้ที่มีอภิญญาญาณอันแก่กล้าแล้วเท่านั้นจะรู้ได้โดยไม่ ต้องสงสัย
บ่อน้ำวัดโพธิ์ชัยศรีมีสิ่งมหัศจรรย์
วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำบ่อหนึ่งมีน้ำใสสะอาดดีใช้ดื่มก็ได้มีความลึกประมาณ8-9เมตรมีรู้น้ำไหลออกอยู่ตลอดเวลาแต่ก็แปลกใจอยู่ว่าน้ำในบ่อแห่งนี้ถ้าในฤดูหนาวน้ำในบ่อจะอุ่นมากกว่าบ่อน้ำทั่วๆไปพอฤดูร้อนน้ำในบ่อแห่งนี้จะเย็นจนหนาวซึ่งเย็นผิดปกติกว่าบ่อน้ำทั่วไปภายใต้พื้นของบ่อน้ำแห่งนี้จะมีถ้ำและรูใหญ่ขนาดตัวคนคลานเข้าไปได้ทราบว่าเป็นรูจากกันบ่อยาวไปทะลุลำห้วยอีกแห่งหนึ่งห่างจากบ่อน้ำนี้ไปทางทิศตะวันออกประมาณกิโลเมตรจะพอสังเกตได้ว่าเมื่อเวลาคุ(กระแป๋งที่สานด้วยไม้ไผ่ใช้ขี้ชันน้ำมันยางผสมกันทาตากให้แห้งแล้วใช้ตักน้ำของภาคอีสาน)หรือกระแป๋งกระถังตักน้ำตกลงไปในบ่อเจ้าของใช้ไม้ขอหยั่งลงไปกันบ่อคุ้ยหาก็ไม่พบต่อมามีคนไททอดแหหาปลาที่ลำห้วยนั้นไปเจอกระแป๋งคนนั้นเข้าจึงสันนิษฐานว่ารูกันบ่อน้ำต้องยาวไปถึงลำห้วยแน่กระแป๋งของคนนั้นจึงมาอยู่ที่ลำห้วยได้ในบ่อน้ำแห่งนี้มีสิ่งที่มหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งข้าพเจ้าได้ฟังมาว่าใครไปตักน้ำแห่งนี้อาบแล้วโดยเฉพาะเป็นผู้หญิงถ้าใครเอาผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ไปวางไว้ที่ปากบ่อน้ำแห่งนี้แล้วพอรุ่งเช้าวันใหม่น้ำในบ่อนี้จะแห้งหมดทันทีชาวบ้านก็ไม่มีน้ำใช้น้ำดื่มต่อไปผู้เล่าให้ฟังบอกข้าพเจ้าว่าในชีวิตนี้เป็นหลายครั้งแล้วและปัจจุบันนี้ก็ยังศักดิ์สิทธิ์อยู่ตามเดิมแต่ก็มีพิธีแกให้น้ำปกติได้โดยชาวบ้านตีกลองรวมกันแล้วมีดอกไม้ธูปเทียนมือถือขันเปล่าคนละใบแห่ไปตัดเอาน้ำที่ลำห้วยดังกล่าวแล้วตักน้ำมาคนละขันนำมาเทลงบ่อน้ำนี้พอรุ่งเช้าวันใหม่น้ำก็จะเต็มขึ้นมาถึงระดับปกติอย่างแต่ก่อน

แหล่งที่มา http://province.m-culture.go.th/udonthani/boranwudtu/luangpornark.php

วัดมัชฌิมาวาส









วัดมัชฌิมาวาส
วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ก่อนจะมาเป็นวัด มัชฌิมาวาส วัดมัชฌิมาวาสเป็นวัดร้างมาก่อน ชื่อว่าวัดโนนหมากแข้งแต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่าเป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมา ว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ หรือ คร่อมตอหมากแข้งขนาดใหญ่ และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก (ปัจจุบัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบัน พระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก ก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ให้ชาวอุดรฯและจังหวัดใกล้เคียงได้สักการะบูชา กันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา
วัดมัชฌิมาวาส เดิมชื่อ วัดโนนหมากแข้ง โดยได้รับพระราชทานบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตั้งอยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 1 งาน มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนหมากแข้ง และถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ ติดกับถนนวัฒนา ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนโพนพิสัย อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหลายแห่ง คือ ใกล้ศาลจังหวัดอุดรธานี โดยห่างจากศาลจังหวัดอุดรธานทีเพียง 40 เมตรเท่านั้น ใกล้กับสถานีกาชาดที่ ๙ และสาธารณสุขจังหวัด ประมาณ 30 เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 120 เมตร ด้านหลังติดกับโรงเรียนเทคนิคอุดรธานี โดยห่างกันเพียง 30 เมตร ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองอุดรธานี ประมาณ 250 เมตร และตั้งอยู่ในย่านกลางของคุ้มต่าง ๆ คือ คุ้มบ้านห้วย คุ้มบ้านโนน คุ้มหมากแข้ง คุ้มทุ่งสว่าง และคุ้มบ้านคอกวัวพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สมัยดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพวน ได้ทรงสร้างวัดโนนหมากแข้ง (เคยเป็นวัดร้าง) แล้วมีภิกษุจำพรรษาอีกครั้ง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดมัชฌิมาวาส เมื่อราว พ.ศ. 2436 พร้อมกับการสร้าง เมืองอุดรธานีขึ้น วัดมัชฌิมาวาสจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวัดที่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอุดรฯจน ตราบเท่าทุกวันนี้

แหล่งที่มา http://udn.onab.go.th/index.php

วัดโพธิสมภรณ์







วัดโพธิสมภรณ์
วัดโพธิสมภรณ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหมากแข้ง เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ.2499 ตอนปลายราชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร(โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรผู้สร้างวัดนี้ ภายในวัดยังมีสถานที่ น่าสนใจต่างๆ อาทิ เช่น พระบรมธาตุธรรมเจดีย์ พระเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ศาลามงคลธรรม พระระเบียงพระเจดีย์ ซึ่งจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในวันธรรมดา/วันหยุด ในเวลา 8.30น.-18.00น. ส่วนวันนักขัตฤกษ์จะเปิดให้เข้าชมเวลา 8.30-20.00น.

แหล่งที่มา http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Udornthani/data/place/city.htm

สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม











สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคม
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี หนองประจักษ์เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีมาตั้งแต่ก่อนตั้งเมืองอุดรธานี เดิมเรียกว่า"หนองนาเกลือ" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "หนองประจักษ์" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมผู้ทรงก่อตั้งเมืองอุดรธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 เทศบาลเมืองอุดรธานี ได้ทำการปรับปรุงหนองประจักษ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นราชสักการะแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยบริเวณตัวเกาะกลางน้ำได้จัดทำสวนหย่อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด และทำสะพานเชื่อมระหว่างเกาะมีน้ำพุ หอนาฬิกา และสวนเด็กเล่น แต่ละวันจะมีประชาชนเข้าไปพักผ่อนและออกกำลังกายกันเป็นจำนวนมาก

แหล่งที่มา http://www.thai-tour.com/thai-tour/Northeast/Udornthani/data/place/city.htm

วนอุทยาน ภูฝอยลม













วนอุทยาน ภูฝอยลม

ตำนานภูฝอยลม

ภาพมุมต่างๆของภูฝอยลม
“ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม”ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่ ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จนทำให้ ”ฝอยลม”เริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่
ในระหว่างปี 2538-3532 ส่วนราชการต่างๆนำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในขณะนั้น (นายสายสิทธิ พรแก้ว) ได้ร่วมกันเคลื่อนย้ายราษฎร เหล่านั้นอกจากพื้นที่ป่า โดยจัดให้อยู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับการทำลายนิเวศ
ปี 2533 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี ได้จัดอบรมเยาวชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อว่า “โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติให้คนรุ่นใหม่ได้หันมาสนใจ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี 2535 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและกิจกรรมอบรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ละเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” โดยใช้ชื่อย่อว่า “ย.พ.พ.”

แหล่งที่มา http://udon.bomload.com

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท







อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้วตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กม. ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลักกม.ที่ 1 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กม.แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กม. มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กม. ภายในบริเวณอุทยานฯ ทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลของอุทยานฯรวมทั้งแผนที่และเส้นทางเพื่อความสะดวกในการเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น.ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับ ชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ

พระพุทธบาทบัวบก
ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาทจึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บกซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตรกว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม ทุกๆ ปีในช่วงเดือน 3 ขึ้น 13-15 ค่ำ จะมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก

พระพุทธบาทหลังเต่า

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหินลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งงนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"

ถ้ำและเพิงหินต่าง ๆ

ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ แห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่างๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเลขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่างๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลังๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง "นางอุสา-ท้าวบารส" เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหิน วัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย

พระพุทธบาทบัวบาน

ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอันเก่าแก่และมีการขุดค้นพบใบเสมาที่ทำด้วยหินเป็นจำนวนมาก ใบเสมาเหล่านี้สลักเป็นรูปบุคคลศิลปะทวาราวดี


แหล่งที่มา http://www.thai-tour.com

อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

















อาชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการเพาะปลูก พืชที่สำคัญคือ ข้าว มันสำปะหลัง ปอ ข้าวโพด ภาคนี้มีพื้นที่ทำนามากกว่าภาคอื่น ๆ แต่ผลิตผลที่ได้ต่ำ เพราะการทำนาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนซึ่งไม่ค่อยแน่นอน บางปีมีน้ำมาก บางปีไม่มีน้ำเลย ภาคนี้พอถึงฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำลำธารจะเหือดแห้งไปเสียส่วนใหญ่ ถึงฤดูฝนประชาชนก็ไม่ได้เตรียมการเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ให้เป็นที่แพร่หลายกัน เว้นแต่เก็บน้ำฝนไว้ดื่มกินเท่านั้น การขาดแคลนน้ำในภาคนี้ทำให้ไม่ค่อยมีการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ทำให้ผลผลิตมีน้อย เป็นเหตุให้ประชากรในภูมิภาคนี้มีความยากจนเป็นส่วนมาก ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรทำให้เกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือที่รู้จักกันในนาม โครงการอีสานเขียว ความมุ่งหมายของโครงการนี้เพื่อหวังจะยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น โดยการหาและสร้างแหล่งน้ำ ปรับปรุงวิธีการประกอบอาชีพ ปรับปรุงด้านสุขภาพอนามัย สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาคือพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่งไม่เหมาะสำหรับปลูกข้าว เพราะข้าวต้องการน้ำมาก แต่เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงวัว แต่การเลี้ยงวัวเลี้ยงควายโดยการปลูกหญ้าให้เป็นอาหารสัตว์นั้นยังทำกันไม่ค่อยแพร่หลายในภาคนี้ การเลี้ยงสัตว์จึงไม่ค่อยได้ผล สำหรับงานฝีมือ เช่น การทอผ้าไหมและการจักสานในภาคนี้ทำกันได้ดีมีฝีมือประณีต แต่การทำในลักษณะที่เป็นกิจการใหญ่โตทำครั้งละมาก ๆ เพื่อการค้ายังไม่เป็นที่นิยมกันในหมู่ประชาชน

เนื่องจากความขัดสนในพื้นที่ผู้คนในภาคนี้จึงได้ดิ้นรนไปหางานทำกันในภาคอื่น ส่วนมากไปในลักษณะการบุกเบิกหาที่ทำกินใหม่ เรียกว่า " หานาดี " ในภายหลังการหานาดีก็ทำได้ยาก เพราะไม่มีพื้นที่จะให้บุกเบิกใหม่ ส่วนใหญ่จึงไปทำงานรับจ้างในที่ต่าง ๆ และไปกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศสิงคโปร์ บรูไน และในประเทศเขตทะเลทรายตะวันออกกลาง ปัญหาของภูมิภาคนี้คือการหาหนทางปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาค สร้างอาชีพใหม่ ๆ ให้เข้ากับสภาพทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์และตั้งโรงงานที่รองรับผลิตผล เหล่านี้จะสามารถแก้ปัญหาในภูมิภาคนี้ได้มาก

แหล่งที่มา http://sunsite.au.ac.th/ThaiInfo/TourismInThailand/Thailand76/Northeast/index.html

About this blog