รายละเอียด
การค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณ หมู่บ้านเชียงนั้น เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อราษฎรชาวบ้านเชียงบางคนสังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวด ลายเขียนสีแดงที่มักพบเสมอ เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คน สนใจได้เข้าชม
พ.ศ. ๒๕๐๙ นายสตีเฟน ยัง (Stefhen Young) นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่ บ้าน จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ (Neotelhic Period)
ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-๑๔) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หน่วยศิปลากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. ๒๕๑๕ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรี ใน และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ลักษณะทั่วไป
วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง แบ่งออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ตามลักษณะการฝังศพและภาชนะดินเผาที่บรรจุลงเป็นเครื่องเซ่นในหลุมฝังศพ ดังนี้
๑. สมัยต้นบ้านเชียง อายุระหว่าง ๕,๖๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
๒. สมัยกลางบ้านเชียง อายุระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
๓. สมัยปลายบ้านเชียง อายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้วจากการวิเคราะห์วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียงโดยนักวิชาการพบว่า คนบ้านเชียงสมัยนั้นได้เลือกที่จะตั้งหมู่บ้านในพื้นที่เนินสูงปานกลางใกล้ จุดที่ทางน้ำธรรมชาติสองสายมาบรรจบกัน และมีพื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่รอบๆ มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์กันแล้ว แต่ก็ยังล่าสัตว์ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร บ้านพักอาศัยมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างอยู่บนเสาสูงทำให้มีใต้ถุนบ้าน สามารถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ได้
หลักฐานที่พบ
๑. โครงกระดูกมนุษย์๒. กระดูกสัตว์๓. ภาชนะดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และลายเขียนสี๔. ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว
๕. เครื่องประดับ เครื่องใช้ ใบหอก และใบขวานสำริด
การค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณ หมู่บ้านเชียงนั้น เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อราษฎรชาวบ้านเชียงบางคนสังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวด ลายเขียนสีแดงที่มักพบเสมอ เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คน สนใจได้เข้าชม
พ.ศ. ๒๕๐๙ นายสตีเฟน ยัง (Stefhen Young) นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่ บ้าน จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ (Neotelhic Period)
ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-๑๔) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หน่วยศิปลากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. ๒๕๑๕ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรี ใน และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ลักษณะทั่วไป
วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง แบ่งออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ตามลักษณะการฝังศพและภาชนะดินเผาที่บรรจุลงเป็นเครื่องเซ่นในหลุมฝังศพ ดังนี้
๑. สมัยต้นบ้านเชียง อายุระหว่าง ๕,๖๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
๒. สมัยกลางบ้านเชียง อายุระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
๓. สมัยปลายบ้านเชียง อายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
จากการวิเคราะห์วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียงโดยนักวิชาการพบว่า คนบ้านเชียงสมัยนั้นได้เลือกที่จะตั้งหมู่บ้านในพื้นที่เนินสูงปานกลางใกล้ จุดที่ทางน้ำธรรมชาติสองสายมาบรรจบกัน และมีพื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่รอบๆ มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์กันแล้ว แต่ก็ยังล่าสัตว์ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร บ้านพักอาศัยมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างอยู่บนเสาสูงทำให้มีใต้ถุนบ้าน สามารถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ได้
หลักฐานที่พบ
๑. โครงกระดูกมนุษย์
๒. กระดูกสัตว์
๓. ภาชนะดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และลายเขียนสี
๔. ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว
๕. เครื่องประดับ เครื่องใช้ ใบหอก และใบขวานสำริด
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
มรดกโลกบ้านเชียง
เขียนโดย
wilaiporn
วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ป้ายกำกับ: มรดกโลกบ้านเชียง , แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น