โทษของอินเตอร์เน็ต

โทษของอินเตอร์เน็ต
โรคติดอินเตอร์เน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?

หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต




รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้


สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100 คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต" นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ



เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้


รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้


ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?

อินเตอร์เน็ตทำงานอย่างไร?



รู้จักกับ TCP/IP
โปรโตคอล TCP/IP หรือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol เป็นระเบียบวิธีการ สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันมาแต่เดิมในระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางมาก จนถือเป็นมาตรฐานได้ จุดกำเนิดของโปรโตคอล TCP/IP นี้เริ่มขึ้นในราว พ.ศ. 2512 ที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อพบปัญหาในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ ของตน ซึ่งจะต้องมีการส่งข้อมูลระหว่างกัน และไปยังหน่วยงานภายนอกอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัย ห้องทดลองต่างๆ (ส่วนใหญ่มีเครื่องที่ใช้ระบบ Unix อยู่เป็นจำนวนมาก) เนื่องจากแต่ละแห่งก็จะมีระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองที่แตกต่างกันไป การต่อเชื่อมกันก็เป็นไปในลักษณะต่างคนต่างทำไม เหมือนกัน ดังนั้นข่าวสารข้อมูลทั้งหลาย จึงถ่ายเทไปมาได้อย่างยากลำบากมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ จัดตั้งหน่วยงาน Advanced Research Projects Agencies (ARPA) ขึ้นมา เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ผลลัพธ์ที่หน่วยงาน ARPA ได้จัดทำขึ้นคือ การกำหนดมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลและได้จัดตั้งเครือข่าย ARPANET ขึ้นโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP ต่อมาก็กลายมาเป็นมาตรฐานจริงจัง ในราวปี พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์ระหว่าง TCP/IP กับระบบปฏิบัติการ Unix เกิดขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบอร์คเลย ์ ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Unix ซึ่งมีการผนวกเข้ากับโปรโตคอล TCP/IP สำหรับใช้ในการสื่อสารระหว่างระบบออกมา และเผยแพร่ต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ทำให้การสื่อสารกันของเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Unix มักจะต้อง ใช้โปรโตคอล TCP/IP เสมอ และมีบทบาทเป็นสิ่งที่คู่กันต่อมาถึงปัจจุบัน

ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ หากแต่จะมีการจัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number)
ส่วนที่สองเรียกว่าหมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น (Host Number) เพราะในเครือข่ายใดๆ อาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหมายเลข Host ซ้ำกันก็ได้ แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้ว จะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย
ในการจัดตั้งหรือกำหนดหมายเลข IP Address นี้ก็มีวิธีการกำหนดที่ชัดเจน และมีกฎเกณฑ์ที่รัดกุม ผู้ใช้ที่อยากจัดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่างๆ สามารถขอหมายเลข IP Address ได้ที่หน่วยงาน Internet Network Information Center (InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา แต่ถ้าผู้ใช้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขอ ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) เรียกย่อๆ ว่าหน่วยงาน ISPรายใดก็แล้วแต่ ก็ไม่ต้องติดต่อขอ IP Address เนื่องจากหน่วยงาน ISP เหล่านั้นจะกำหนดหมายเลข IP ให้ใช้ หรือส่งค่า IP ชั่วคราวให้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบการขอใช้บริการที่จะกล่าวต่อไป

โครงสร้างของแอดเดรสที่ใช้ใน classต่างๆของเครือข่าย ซึ่งทั้งหมด ยาว 32 บิต IP Address นี้มีการจัดแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 ระดับ (Class) แต่ที่ใช้งานในทั่วไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งก็แบ่งตามขนาดความใหญ่ ของเครือข่ายนั่นเอง ถ้าเครือข่ายใดมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร เชื่อมต่ออยู่มาก ก็จะมีหมายเลขอยู่ใน Class A ถ้ามีจำนวนเครื่องต่ออยู่ลดหลั่นกันลงมาก็จะอยู่ใน Class B และ Class C ตามลำดับ หมายเลข IP ของ Class A มีตัวแรกเป็น 0 และหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ขนาด 7 บิต และ มีหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ (Host Number) ขนาด 24 บิต ทำให้ในหนึ่งเครือข่ายของ Class A สามารถมีคอมพิวเตอร ์เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายได้ถึง 224= 16 ล้านเครื่อง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ แต่ใน Class A นี้ จะมีหมายเลข เครือข่ายได้ 128 ตัวเท่านั้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าจะมีเครือข่ายยักษ์ใหญ่แบบนี้ได้เพียง 128 เครือข่ายเท่านั้น สำหรับ Class B จะมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 14 บิต และหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 16 บิต (ส่วนอีก 2 บิตที่เหลือบังคับว่าต้องขึ้นต้นด้วย 102) ดังนั้นจึงสามารถมีจำนวนเครือข่ายที่อยู่ใน Class B ได้มากกว่า Class A คือมีได้ถึง 214 = กว่า 16,000 เครือข่าย และก็สามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันในเครือข่าย Class B แต่ละเครือข่ายได้ถึง 216 หรือมากกว่า 65,000 เครื่อง สุดท้ายคือ Class C ซึ่งมีหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ 8 บิตและมีหมายเลขเครือข่ายแบบ 21 บิต ส่วนสามบิตแรกบังคับว่าต้องเป็น 1102 ดังนั้นใน แต่ละเครือข่าย Class C จะมีจำนวนเครื่องต่อเชื่อมได้เพียงไม่เกิน 254 เครื่องในแต่ละเครือข่าย (28 = 256 แต่หมายเลข 0 และ 255 จะไม่ถูกใช้งาน จึงเหลือเพียง 254) ดังนั้นวิธีการสังเกตได้ง่ายๆ ว่าเราเชื่อมต่ออยู่ที่เครือข่าย Class ใดก็สามารถดูได้จาก IP Address ในส่วนหน้า (ส่วน Network Address) โดย

Class A จะมี Network address ตั้งแต่ 0 ถึง 127 (บิตแรกเป็น 0 เสมอ)

Class B จะมี Network address ตั้งแต่ 128 ถึง 191 (เพราะขึ้นต้นด้วย 102 เท่านั้น)

Class C จะมี Network address ตั้งแต่ 192 ถึง 223 (เพราะขึ้นต้นด้วย 1102 เท่านั้น)

เช่น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตมีหมายเลข IP ดังนี้ 181.11.82.22 ตัวเลข 181.11 แสดงว่าเป็นเครือข่ายใน Class B ซึ่งหมายเลขเครือข่ายเต็มๆ จะใช้ 2 ส่วนแรกคือ 181.11 และมีหมายเลขคอมพิวเตอร์คือ 82.22 หรือถ้ามี IP Address เป็น 192.131.10.101 ทำให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเชื่อมต่ออยู่ใน Class C มีหมายเลขเครือข่ายคือ 3 ส่วนแรก ได้แก่ 192.131.10 และหมายเลขประจำ เครื่องคือ 101 เป็นต้น



Domain Name System (DNS)
เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเตอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล TCP/IP คุยกัน โดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 203.78.105.4 แทนที่ด้วยชื่อ thaigoodview.com ผู้ใช้บริการสามารถ จดจำชื่อ thaigoodview.com ได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP 203.78.105.4 เป็น 203.78.104.9 ผู้ดูแลระบบจะจัดการ แก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่อง เดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

สำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name-to-IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับชั้น (hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล Domain Name นี้ ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่างๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่างๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะ กำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย เช่นชื่อ Domain คือ support.skynet.com จะได้ว่า com จะเป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดตั้งต้น หรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ skynet และระดับล่างสุดคือ support หมายความว่า ชื่อ Domain นี้ แทนที่หน่วยงาน support ของบริษัทชื่อ skynet และเป็นบริษัทเอกชน ดังแสดงโครงสร้างลำดับชั้นของ Domian Name ที่ชื่อ Support.skynet.com

ในการกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถ อ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจ ดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้ได้ ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยาวทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่งๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อ และจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดใน ตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การ จัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูล ในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ได้หลายเครื่องด้วย ขึ้นกับว่าจะตั้งไว้ให้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้ ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่งๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมา เพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่นๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วแล้วไม่ปรากฏว่ามีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้นแต่ขณะนั้น เกิดขัดข้องอยู่ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน)



การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย กฎเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้ ชื่อ_user @ ชื่อ_subdomain. ชื่อ_Subdomain... [...] . ชื่อ_Domain ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใดๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า "แอท" หมายถึง "อยู่ที่เครื่อง..." แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่างๆ ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่มๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่งๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้นๆ เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้นๆ หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง

มรดกโลกบ้านเชียง













รายละเอียด
การค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณ หมู่บ้านเชียงนั้น เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อราษฎรชาวบ้านเชียงบางคนสังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวด ลายเขียนสีแดงที่มักพบเสมอ เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คน สนใจได้เข้าชม
พ.ศ. ๒๕๐๙ นายสตีเฟน ยัง (Stefhen Young) นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่ บ้าน จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ (Neotelhic Period)
ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-๑๔) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หน่วยศิปลากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. ๒๕๑๕ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรี ใน และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
ลักษณะทั่วไป
วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง แบ่งออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ตามลักษณะการฝังศพและภาชนะดินเผาที่บรรจุลงเป็นเครื่องเซ่นในหลุมฝังศพ ดังนี้
๑. สมัยต้นบ้านเชียง อายุระหว่าง ๕,๖๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
๒. สมัยกลางบ้านเชียง อายุระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
๓. สมัยปลายบ้านเชียง อายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้วจากการวิเคราะห์วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียงโดยนักวิชาการพบว่า คนบ้านเชียงสมัยนั้นได้เลือกที่จะตั้งหมู่บ้านในพื้นที่เนินสูงปานกลางใกล้ จุดที่ทางน้ำธรรมชาติสองสายมาบรรจบกัน และมีพื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่รอบๆ มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์กันแล้ว แต่ก็ยังล่าสัตว์ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร บ้านพักอาศัยมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างอยู่บนเสาสูงทำให้มีใต้ถุนบ้าน สามารถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ได้
หลักฐานที่พบ
๑. โครงกระดูกมนุษย์๒. กระดูกสัตว์๓. ภาชนะดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และลายเขียนสี๔. ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว
๕. เครื่องประดับ เครื่องใช้ ใบหอก และใบขวานสำริด
การค้นพบโบราณวัตถุที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและก่อนประวัติศาสตร์ในบริเวณ หมู่บ้านเชียงนั้น เริ่มต้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อราษฎรชาวบ้านเชียงบางคนสังเกตเห็นและมีความสนใจเศษภาชนะดินเผาที่มีลวด ลายเขียนสีแดงที่มักพบเสมอ เมื่อมีการขุดพื้นดินในบริเวณหมู่บ้าน จึงได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้านและจัดแสดงให้ผู้คน สนใจได้เข้าชม

พ.ศ. ๒๕๐๙ นายสตีเฟน ยัง (Stefhen Young) นักศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาศึกษาเรื่องราวของวิถีชีวิตชาวบ้านเชียง จึงได้พบเห็นเศษภาชนะดินเผาเขียนสีกระจายเกลื่อนอยู่ทั่วไปตามผิวดินของหมู่ บ้าน จึงได้เก็บไปให้ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ผู้เชี่ยวชาญโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ประจำกองโบราณคดี กรมศิลปากร ศึกษาวิเคราะห์และได้ลงความเห็นว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ (Neotelhic Period)

ใน พ.ศ. ๒๕๑๐ กองโบราณคดี กรมศิลปากร จึงดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอย่างจริงจัง และส่งโบราณวัตถุไปหาอายุโดยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์ (C-๑๔) ที่มหาวิทยาลัยเพนซินเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า โบราณวัตถุเหล่านั้นมีอายุ ประมาณ ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๓ หน่วยศิปลากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น ได้เข้าไปสำรวจโบราณวัตถุที่บ้านเชียง แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นเรื่องราวทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่เข้าใจกันมากนัก จึงไม่มีการค้นคว้าทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง

พ.ศ. ๒๕๑๕ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงอีกครั้งหนึ่งบริเวณวัดโพธิ์ศรี ใน และบริเวณบ้านนายพจน์ มนตรีพิทักษ์ โดยได้ปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์สถานกลางแจ้งแห่งแรกในประเทศไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการขุดค้นที่บ้านเชียง เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕


ลักษณะทั่วไป
วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียง แบ่งออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ตามลักษณะการฝังศพและภาชนะดินเผาที่บรรจุลงเป็นเครื่องเซ่นในหลุมฝังศพ ดังนี้
๑. สมัยต้นบ้านเชียง อายุระหว่าง ๕,๖๐๐-๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว
๒. สมัยกลางบ้านเชียง อายุระหว่าง ๓,๐๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว
๓. สมัยปลายบ้านเชียง อายุระหว่าง ๒,๓๐๐-๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว
จากการวิเคราะห์วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ้านเชียงโดยนักวิชาการพบว่า คนบ้านเชียงสมัยนั้นได้เลือกที่จะตั้งหมู่บ้านในพื้นที่เนินสูงปานกลางใกล้ จุดที่ทางน้ำธรรมชาติสองสายมาบรรจบกัน และมีพื้นที่ราบลุ่มผืนใหญ่รอบๆ มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์กันแล้ว แต่ก็ยังล่าสัตว์ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร บ้านพักอาศัยมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างอยู่บนเสาสูงทำให้มีใต้ถุนบ้าน สามารถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ หรือเป็นคอกเลี้ยงสัตว์ได้

หลักฐานที่พบ
๑. โครงกระดูกมนุษย์
๒. กระดูกสัตว์
๓. ภาชนะดินเผาลายขูดขีด ลายเชือกทาบ และลายเขียนสี
๔. ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว
๕. เครื่องประดับ เครื่องใช้ ใบหอก และใบขวานสำริด



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

คำศัพท์ที่เกี่ยวกับ www

Browser หรือ WEB Browser เป็นโปรแกรมที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับผู้อื่นบนระบบ Internet ซึ่งสามารถเรียกดู WebSite ต่างๆได้ทั่วโลก และยังสามารถใช้บริการต่างๆ ได้อีกมากมายเช่นบริการ E-mail รับส่งข้อมูลภายทาง Browser เช่นที่ Geocities และในปัจจุบันยังสามารถ ที่จะฟังเพลง หรือชมภาพยนต์ตัวอย่าง ฟังวิทยุหรือแม้แต่การชมการถ่ายทอดสด ผ่านทางระบบ Internet โดยอาศัยBrowserและโปรแกรมเสริมหรือ Plug-in ต่างๆ ซึ่งBrowser นั้นมีทั้งแบบที่เป็น Text โหมดเช่นในระบบ UNIX หรือ Lenux หรือแบบที่เป็นกราฟิค โหมดเช่นในปัจจุบัน Browser ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันก็เช่น โปรแกรม Netcape Navigator โปรแกรม Microsoft Internet Explorer โปรแกรม NSCA Mosaaic โปรแกรม Opera โปรแกรม Neoplanet เป็นต้น
URLนั้นก็ย่อมาจาก Uniform Resource Location คือที่อยู่หน้าเว็บเพจ สามารถดูได้จากแถบที่อยู่ทุกครั้งที่ท่านเปิดหน้าเว็บปกติแล้ว URLจะเป็นกลุ่ม ของตัวอักษร เช่น http://wbac.wimol.ac.th/ แต่เราสามารถใส่ตัวเลขลงไปได้ และใน URLนั้นจะใช้ " / " จะไม่ใช่ " \ "เหมือน พาร์ทในเครื่องของ เช่น C:\windows ทำให้อาจจะพิมพ์ผิดได้ และURLนั้นจะแยกตัวอักษรใหญ่ และเล็กของชื่อไฟล์ เช่น INDEX.htm กลับ index.htm นั้น ก็จะเป็นคนละไฟล์กัน
Homepage นั้นก็คือเอกสาร HTML หน้าแรกที่เราสามารถจะเข้าถึงได้ในแต่ละ Website ดังนั้นHomepage นั้นก็เสมือนเป็นประตูที่จะเข้า ไปสู่ Website ต่างๆ ในปัจจุบันนี้มีคนจำนวนมาก ที่เข้าใจผิดว่า Homepage มีความหมายเดียวกับ Website คงเป็นเพราะ Web Free Homepage ที่เค้าใช้คำว่า Homepage นั้นก็อาจจะเพราะว่า Homepage ที่เราสร้างขึ้นนั้นเป็นเพียงโฟล์เดอร์หนึ่ง ใน Website นั้นหรือแม้แต่หนังสือสอนเขียน HTML ก็มักใช้คำว่า Homepage ทำจึงให้ Homepage นั้นเป็นเขาที่ติดปากซึ่งก็ไม่แปลกที่ Homepage ของแต่ละ Website นั้นจะถูกออกแบบ ให้พิเศษกว่าหน้าอื่นๆ ในWebsite ส่วนใหญ่ก็จะออกแบบให้สะดุดตา และเป็นที่ประทับใจ แก่ผู้มาเยี่ยมชม เพื่อที่จะได้กับมาเยี่ยมชมอีก เนื่องจาก Homepage นั้นเป็นหน้าตาของ Website ดังนั้นจึงอาจ มีการใส่รูปภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ หรือ Script และลูกเล่นต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้มาเยี่ยมชมต้องการอะไร เช่นเขาอาจจะต้องการเพียงเข้ามาดูข้อมูลของบริษัทเท่านั้น แต่ต้องมา รอโหลดรูปภาพ เคลื่อนไหวขนาดใหญ่ หรือเสียงเพลงไพเราะ ที่ทำให้ผู้ไม่มีการ์ดเสียง รำคาญกับคำเตือนต่างๆ หรือแม้แต่การเสียทรัพยากรของระบบไปกับ Script ของนาฬิกาที่คุณสามารถเหลียวไปมองที่ Taskbar ได้เร็วกว่า และอาจจะมีการเตือน Script Error ให้ปวดหัวอีก

ข้อแนะนำ Homepage ที่ดีควรที่จะใช้เวลา Load ไม่นานเกินไปออกแบบให้ดูสะอาดตา และสามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว และการตั้งชื่อไฟล์ของ Homepage นั้นก็สำคัญเพราะ Server ส่วนใหญ่นั้นจะกำหนดให้ไฟล์ index.html หรือ index.htm และ default.htm (ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ Server นั้นๆ ใช้อยู่) เป็น Homepage หรือหน้าแรกอยู่แล้วนั้นหมายความว่า URL ของ http://wbac.wimol.ac.th กับ http://wbac.wimol.ac.th/index.html นั้นเหมือนกัน แต่ถ้าคุณใช้ชื่อ ไฟล์ของ Homepage เป็นชื่ออื่นเช่น home.html หรือwelcome.html ก็จะทำให้Urlของคุณ ยาวขึ้นโดยไม่จำเป็น และจดจำ ได้อยาก ดูไม่เป็นมาตรฐาน
Website นั้นเป็นคำที่ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่มีเวบเป็นของตัวเองบน Internet หรือก็คือ webpage ทั้งหมดที่มีอยู่ใน site ของเรานั้นเอง ซึ่งจะได้จากการที่เราลงทะเบียนกับผู้ให้เช่าบริการพื้นที่ บนอินเตอร์เน็ตหรือ Free Homepage ต่างๆ จากนั้นก็ทำการ Upload ไฟล์ของเวบเพจเรา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหน่วยงาน รัฐบาล ภาครัฐและบริษัทต่างๆ ก็มักจะมี Website กันเป็นส่วนใหญ่แต่ปัจจุบันนี้ไม่เพียงจะจำกัดอยู่เพียงเท่านี้ ผู้ใช้ที่เป็นคนธรรมดาอย่างเราๆ ก็สามารถที่จะมีที่อยู่บนInternet ได้อย่างสบายๆ ซึ่งประโยชน์ของ Website ก็มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ บริการรับส่ง E-mail บริการรับส่งข้อมูลผ่านทางโปรโตคอล FTP และอื่นๆ
Proxy Server เป็น Server ที่ช่วยเก็บ Cast ของ Website ต่าง ๆ ที่เราเคยเข้าไปเยี่ยมชมมาแล้วซึ่งจะช่วยให้การเรียกดูในครั้งต่อไปให้เร็วขึ้นนั่นเอง
Web Server เป็นที่รวมหรือ ที่อยู่ของ Website ต่าง ๆ ที่เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า Web hosting ภายในประกอบด้วย Website ต่าง ๆ มากมาย

การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ www

WWW คืออะไร การใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ WWW (World Wide Web) เป็นเครื่องมือในการให้บริการข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ได้ง่าย สามารถชมได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง VDO แม้แต่ส่ง Pager หรือจะสั่ง Pizza ก็ได้ ในปัจจุบันมีโปรแกรมในลักษณะของ WWW อยู่หลายตัวและหลายเวอร์ชั่นมากมาย แต่ละตัวจะเหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด โปรแกรมที่จะพาผู้ใช้เข้าถึงบริการในลักษณะของ WWW นี้รวมเรียกว่า "บราวเซอร์" (Browser) ตามลักษณะของการใช้บริการดังกล่าวที่ดูเสมือนการเปิด หนังสือดู ไปทีละหน้า เหมือนการใช้ Online Help นั่นเอง

คำศัพท์เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

Intranet คือ การใช้งานอินเตอร์เน็ตในองค์กร ใช้เหมือนอินเตอร์เน็ตทุกอย่าง แต่ไม่ได้ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ต
Extranet คือ มีความคล้ายกับ Intranet เพียงแต่สามารถเปิดช่องให้สำหรับลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้ามาใช้บริการของ Server ได้ส่วนมากใช้ในเรื่อง E-commerce
ISP สถานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตทางการค้าไม่ว่าบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ เรามีศัพท์เรียกเหมือนกันทั่วโลกโดยเฉพาะว่า ISP (Internet Service Provider) ดังนั้นผู้ที่ประสงค์จะใช้งานอินเตอร์เน็ต ไม่ว่ารูปแบบใด ก็ต้องทำการติดต่อ สมัครเป็นสมาชิกกับ ISP แห่งใดแห่งหนึ่งนั่นเอง

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่าย เดียวกันทั้งโลก หรือทั้งจักรวาลอินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามา ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)คือ เครือข่ายของเครือข่าย (A network of network) สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมาย ของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย

ประวัติอินเตอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่




เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

About this blog